top of page

Blog 2

การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21

การจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21

                    การจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ควรเป็นการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน

( Mathematics for All ) เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้เป็นทรัพยากรที่มีค่า มีประสิทธิภาพและศักยภาพเพื่อจะได้เป็นกำ ลังของชาติ ( Man Power ) สืบไป การสอนคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 นี้ จำ เป็นจะต้องอาศัยครูผู้รู้คณิตศาสตร์ เพื่อจะได้ถ่ายทอดความรู้นั้นมาพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้รู้คณิตศาสตร์ ( Mathematics Literacy ) อย่างสมสมัย ทันกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่

เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์นี้ นอกจากนี้การจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21นี้ จะต้องเป็นการจัดการศึกษาที่ช่วยเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตให้สงบสุข มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่เจริญรุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้งการสอนคณิตศาสตร์ในยุคนี้ จำ เป็นต้องให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ มีทักษะความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่มากพอเพียง และสามารถนำ ความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆได้ นอกจากนี้การสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา ยังจะต้องเป็นการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมเยาวชน เพื่อให้รับกับการศึกษาในระดับมัธยมที่สูงขึ้น ในศตวรรษที่ 21 นี้ เยาวชนไทยจะได้รับการศึกษามัธยมเป็นอย่างตํ่า เนื่องจากการศึกษาภาคบังคับจะขยายไปถึงมัธยมศึกษา ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูคณิตศาสตร์ประถมศึกษาจะต้องปรับปรุงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของตนเองให้สูงกว่าระดับมัธยมศึกษาการสอนคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 จำ เป็นที่ครูผู้สอนจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ทางคณิตศาสตร์อย่างแท้จริง ครูผู้สอนจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถ รู้จักดัดแปลงตัวอย่างกิจกรรมแบบฝึกหัด ตลอดจนหาสื่ออุปกรณ์ประกอบการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง การสอนให้เยาวชนรู้จักคิดเป็น ทำ เป็น แก้ปัญหาเป็นนั้นเป็นสิ่งสำ คัญ นอกจากนั้นยังจำ เป็นต้องฝึกให้เยาวชน รู้จัก พูด แสดงความคิดอย่างชัดเจน สมเหตุสมผล มีวิจารณญาณ ฝึกให้เยาวชนเป็นผู้รู้จริง ใฝ่แสวงหาความรู้ กล้าแสดงความรู้ และความคิด เป็นผู้เสียสละเพื่อส่วนรวม เป็นผู้มีนํ้าใจ และสามารถทำ งานร่วมกับผู้อื่นได้ การจัดกิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษานี้ ยังมีความจำ เป็นที่ครูผู้สอน จะต้องหาสื่ออุปกรณ์ ( Manipulative Objects ) มาประกอบ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจ เกิดทักษะ นอกจากนี้การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้ฝึกการทำ งานร่วมกัน ( Co-operative Learning ) นั้น จะมีประโยชน์ต่อเด็กเพราะจะเป็นการเตรียมเยาวชนให้เป็นทรัพยากรที่มีค่า ( Productive Citizens ) ในยุคข่าวสารสนเทศและยุคไร้พรมแดนต่อไป

 

 

ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21

 

                    ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ 

                            ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้

สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ 

สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย 

                  ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก

         ศิลปะ

         คณิตศาสตร์

         การปกครองและหน้าที่พลเมือง

         เศรษฐศาสตร์

         วิทยาศาสตร์

         ภูมิศาสตร์

         ประวัติศาสตร์

                             โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้  ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

               ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)

          ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics,                        Business and Entrepreneurial Literacy)

          ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)

          ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)

          ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)

                  ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่

           ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม

           การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา

           การสื่อสารและการร่วมมือ

                    ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้

           ความรู้ด้านสารสนเทศ

           ความรู้เกี่ยวกับสื่อ

           ความรู้ด้านเทคโนโลยี

                    ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้

            ความยืดหยุ่นและการปรับตัว

            การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง

            ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม

            การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)

            ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility) 

                       แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และกรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st Century Skills) (www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อว่า เครือข่าย P21  ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความสำเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต

 

 

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

                    การศึกษาในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก เป็นการศึกษาเพื่อสร้างความรู้ความสามารถ และพัฒนาศักยภาพของตน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนตามความสนใจ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ อีกทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้ได้ ซึ่งองค์ความรู้ในปัจจุบันปรากฏในรูปแบบต่างๆ มากมาย อาจแบ่งความรู้เป็น 3 ประเภท คือ 1) ความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน ไม่สามารถจับต้องได้ เช่น ทักษะวิชาชีพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่เปิดเผยในรูปแบบต่างๆ สามารถจับต้องได้ เช่น หนังสือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สื่อชนิดต่างๆ และ 3) ความรู้ภายในองค์กร (Organization Knowledge) เป็นความรู้ที่มาจากสมาชิกในองค์กรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันจนเป็นความสามารถขององค์กร เช่น คู่มือการทำงาน กระบวนการทำงาน มาตรฐานการทำงาน เป็นต้น ซึ่งความรู้ต่างๆ เหล่านี้จะก่อให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญานั่นเอง

            ดังนั้น ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21  ควรมีลักษณะอันพึงประสงค์ ดังนี้

1.  เป็นนักคิดวิเคราะห์

2.  เป็นนักแก้ปัญหา

3.  เป็นนักสร้างสรรค์

4.  เป็นนักประสานความร่วมมือ

5.  รู้จักใช้ข้อมูลและข่าวสาร

6.  เป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง

7.  เป็นนักสื่อสาร ครูพูดน้อยและเด็กพูดมาก

8.  ตระหนัก  รับรู้สภาวะของโลก

9.  เป็นพลเมืองทรงคุณค่า

10.  มีพื้นฐานความรู้เศรษฐกิจและการคลัง

 

                   การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความมุ่งหวังว่าจะสามารถพัฒนาผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ โดยตั้งเป้าหมายให้เกิดผลลัพธ์กับผู้เรียนวิชาแกนหลัก และแนวคิดสำคัญของการเรียนรู้ประกอบไปด้วยภาษาอังกฤษ  การอ่าน หรือศิลปะการใช้ภาษา ภาษาสำคัญของโลก ศิลปะ คณิตศาสตร์ การปกครองและหน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ นำไปสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) อันได้แก่ การมีจิตสำนึกต่อโลก ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ ความรู้พื้นฐานด้านการเป็นพลเมือง ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพอนามัย ขับเคลื่อนโดยกรอบแนวคิดการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 มีรูปแบบ (Model) สำคัญ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบเครือข่ายภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มีองค์ประกอบสำคัญ คือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม-4C ประกอบด้วย การวิเคราะห์ การสื่อสาร การร่วมมือ และความคิดสร้างสรรค์ สาระวิชาหลัก-3Rs คือ การอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์ ทักษะชีวิตและอาชีพ  ทักษะสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี ซึ่งจะอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานและการวัดผล หลักสูตรและวิธีสอน การพัฒนาวิชาชีพ และบรรยากาสการเรียนรู้  และรูปแบบของกลุ่มเมทิรี มีองค์ประกอบสำคัญ คือ ความรู้พื้นฐานในยุคดิจิทัล การคิดเชิงนวัตกรรมและสร้างสรรค์ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล และการเพิ่มผลผลิตในระดับสูง

 

 

การสอนคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21

                    การสอนคณิตศาสตร์ : ถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแนวคิดเสียทีขณะที่เรากำลังย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ยังมีผู้คนอีกเป็นจำนวน มากที่ยังมีความกลัวคณิตศาสตร์ เทคโนโลยีสมัยใหม่เช่นเครื่องคิด เลขที่แสดงกราฟได้ โปรแกรมสำหรับคำนวณเชิงสัญลักษณ์ ฯลฯ ก็ไม่ ได้ช่วยแก้ปัญหาให้คนกลุ่มนี้ได้ ไม่ว่าวิธีการจะเปลี่ยนไปอย่างไร ไม่ มีปัญหาสำหรับพวกที่เรียนเก่งในโรงเรียน แต่สำหรับคนส่วนใหญ่แล้วก็ ยังกลัวหรือไม่ไว้ใจวิชานี้อยู่ดี มีบทความที่ว่าด้วยเรื่อง 'mathephobia' คือโรคกลัวคณิตศาสตร์ อยู่มากมายที่ยืนยันว่า ปัญหาในการให้การศึกษาคณิตศาสตร์ยังมีอยู่ (Maxwell, 1989, Buxton 1981)บางทีอาจถึงเวลาที่ต้องหาวิธีการ ใหม่ ๆ หรือจะต้องมีการปรับหลักสูตรใหม่ เท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนักเรียนไม่มีความรู้สึกใดใดในวิชาคณิตศาสตร์และไม่เห็นคุณค่า กลวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ได้รับการถกแถลงกันในโรงเรียน หลักสูตรไม่ยืดหยุ่น พอที่จะยอมให้นักเรียนได้ พากเพียรคิด และครูก็ได้แต่แสดงวิธี เพียงวิธีเดียวสำหรับผลเฉลย 1 ข้อ เรายังคงยึดติดอยู่แค่ระดับความชำนาญและการเรียนจากสูตร (แม้ว่าดูจะเป็นเรื่องในอดีต) การคิดอย่างแท้จริงทำแค่ผิวเผิน จะมีสักกี่คนที่เข้าใจอย่างแท้จริง ว่าเหตุใดจำนวนลบคูณจำนวนลบ จึงเป็นจำนวนบวก เข้าใจเพียงแค่เป็นกฎที่ครูบอกให้จำ จะมีสักกี่คนที่เข้าใจพื้นฐานของแคลคูลัสเชิงปริพันธ์ หรือความคิดเกี่ยวกับลิมิตอย่างแท้จริง เป็นการง่ายเกินไปที่ละเลยในรายละเอียดเหล่านี้ แต่ได้ทำให้หลักที่แท้จริงของคณิตศาสตร์สูญเสียไป โดยไม่ได้ต้องการที่จะตำหนิครู หากแต่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจหรือเราได้สูญเสียความเข้าใจอย่างแท้จริงไปในระดับหนึ่ง เป็นการง่ายเกินไปที่จะกล่าวอย่างสั้นๆว่าสูตรหรือความคิดมาจากไหน โดยไม่ได้แสดงเหตุผลอันควร ผลก็คือนักเรียนก็ยังคงอยู่ในความมืดและยังคงถูกทำให้เชื่อว่าสูตรถูกดึงออกมาจากหมวกนั่นเอง เราสามารถที่กล่าวอย่างจริงใจได้หรือไม่ว่าการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กไทย

 

แหล่งที่มา 

https://www.gotoknow.org/posts/504319

http://www.vcharkarn.com/varticle/60454

http://www.jsfutureclassroom.com/news_detail.php?nid=300

http://203.172.238.228/plan/km1/?name=research&file=readresearch&id=23

bottom of page